ติดปีกให้ธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยการบริหาร ต้นทุนการผลิต & ต้นทุนพลังงาน
ติดปีกให้ธุรกิจอุตสาหกรรม
ด้วยการบริหาร ต้นทุนการผลิต & ต้นทุนพลังงาน
ด้วยสภาวะการแข่งขันที่สูงและรุนแรงในสภาพการตลาดในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกองค์กรมีการดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมการผลิตก็เช่นเดียวกัน
ที่นับวันคู่แข่งยิ่งมีมากขึ้นทุกวันต่างงัดกลยุทธฺออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาขายที่ถูกกว่า ซึ่งเป็นการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสินค้าที่มีราคาถูก แต่การจะทำกลยุทธ์นี้ได้นั้น องค์ประกอบหลักของทางผู้ผลิต คือ ต้นทุนการผลิต (production cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตามความต้องการของลูกค้า ที่ต้องทำให้ต่ำที่สุดโดยที่คุณภาพและคุณค่าในการใช้งานยังคงอยู่ภายใต้การยอมรับ
จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการบริหารสำหรับอุตสาหกรรม และในยุคที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญกับพลังงานสีเขียวหรือ Green Energy มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ในขณะที่พลังงานจากซากพืชและสัตว์หรือ Fossil Fuels จะได้รับความนิยมลดลง และจะถูกแทนที่โดยพลังงานหมุนเวียนที่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่ามาทดแทนไป ดังนั้นเรื่องการบริหารต้นทุนพลังงานที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมและแสงอาทิตย์ จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากอีกเช่นกัน
ดังนั้น ธุรกิจอุตสาหรรม มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวทางการบริหารต้นทุนการผลิต & ต้นทุนพลังงาน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การบริหารต้นทุนพลังงานแบบแยกส่วนการผลิตมีผลต่อองค์กรในแง่ความร่วมมือ ประสานงานเพื่อการปรับปรุง เมื่อเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญ ไม่ได้เป็นไปในทางเดียวกัน ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการลดการใช้พลังงาน แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการจัดการคุณภาพสินค้าและฝ่ายดำเนินงาน จะประสานกันได้อย่างไร
ภารกิจของฝ่ายผลิตคือผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดีส่งมอบตรงต่อเวลาลดของเสียในกระบวนการดูแลความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานการจัดการพลังงานจึงถูกมองว่าเป็นงานที่มีความสำคัญอันดับหลังๆ
ผู้ที่จะมองปัญหานี้ได้ดี ก็คือแผนกบัญชี ซึ่งเป็นเสมือนคนกลางที่มีข้อมูลพร้อมเพียบทั้งด้านผลผลิตปริมาณของเสียการจัดซื้อวัตถุดิบ ต้นทุนในด้านต่างๆการส่งมอบสินค้าและผลดำเนินการต่างๆโดยคำนึงถึงภารกิจในภาพรวมขององค์กรเพื่อสร้างกำไรและเพื่อลดต้นทุน
การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตมีผลต่อการลดการใช้พลังงานเป็นอันดับต้นๆทีมงานควรจะมีความเข้าใจในการเชื่อมโยง ของต้นทุนพลังงานและภารกิจขององค์กร
ยกตัวอย่างแนวคิดเรื่องความสูญเสีย 7 ประการ การจัดการกับความสูญเสียได้ในองค์กร จะส่งผลต่อการลดต้นทุนพลังงานมากที่สุด ด้วยการพิจารณาเพื่อลดการสูญเสียเหล่านี้
1.ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป Overproduction
2.ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง Inventory
3.ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง Transporation
4.ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว Motion
5.ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต Processing
6.ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย Delay
7.ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย Defect
การบริหารพลังงานในอุตสาหกรรมการผลิต
การบริหารพลังงานจากประสบความสำเร็จได้นั้น ความร่วมมือของพนักงานทั้งองค์กร เป็นปัจจัยที่สำคัญลำดับต้นๆ การทำความเข้าใจกับการสูญเสียพลังงาน เช่นการผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพทำให้ต้องแก้ไขหรือแม้กระทั่งออกวัตถุดิบใหม่เพื่อผลิตทดแทนผลผลิตที่ได้คุณภาพ ล้วนใช้พลังงานอย่างมาก การลดปัญหาด้านคุณภาพ จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ ดีเป็นอันดับต้นๆ
มาตรฐานที่ส่งผลเป็นอย่างดีในการลดต้นทุนพลังงานได้แก่
-ลดปัญหาด้านคุณภาพสินค้า เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิตซ้ำ
- ปรับปรุงกระบวนการผลิต และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เพื่อลด การเดินเครื่องตัวเปล่า
- ลดการสูญเสียพลังงานจากการรั่วไหล การเปิดเครื่องทิ้งไว้
- เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในกระบวนการต่างๆ
- แก้ปัญหาทางด้านห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดการผลิตที่มากเกินความต้องการ
จะเห็นได้ว่าการบริหาร ต้นทุนการผลิต & ต้นทุนพลังงาน เป็นเรื่องสำคัญ และยังทำให้เพิ่มผลผลิตโดยการลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เช่นกัน
**********