ทำไมเราต้องกรองอากาศหลายชั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำไมไม่กรองละเอียดตั้งแต่ครั้งแรก ความเข้าใจเกี่ยวกับ การกรองอากาศ
อากาศอยู่รอบๆ ตัวเราเสมอ เราไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวนั้น เป็นอากาศดี หรือ ไม่ดี นี้จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้บริษัทต่างๆ คิดค้น เเละผลิต ระบบอัดลม เพื่อกรองอากาศ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เเต่ระบบอัดลมที่ว่านี้ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับมนุษย์เรา เเต่จะใช้ทางอ้อม โดยใช้กับ เครื่องยนต์ ยกตัวอย่าง เช่น รถยนต์ รถยนต์มีเครื่่องยนต์ของรถยนต์ที่เราใช้เป็นพาหนะในการขับขี่อยู่เป็นประจำ
เมื่อใช้งานไปนานๆ อาจเกิดการอุดตัน ส่งผลให้อากาศผ่านเข้าไปในกระบอกสูบได้น้อยลง ทำให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลง โดยปกติแล้วควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก 20,000 กิโลเมตร หรือน้อยกว่านั้นหากขับขี่รถในสภาพที่มีฝุ่นมากเป็นประจำ เมื่อไส้กรองอากาศ สกปรกจะสามารถสังเกตอาการของรถยนต์ได้ ดังนี้
1.เครื่องยนต์กำลังตก
2.เครื่องยนต์สั่น
3.สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ
4.ควันไอเสียมีสีดำ
กลไกการทำงานของ ระบบอัดลมในการกรองอากาศ ของเครื่องยนต์ เมื่อ ระบบอัดลม ถูกออกเเบบมาเพื่อ เน้น การทำความสะอาด ในการกรองอากาศ ในการดักฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก เพื่อส่งผลให้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบอัดลม
โดยทั่วไปแล้วโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบอากาศอัดในกระบวนการผลิตหลายกระบวนการ เช่น การใช้ลมขับกระบอกสูบเครื่องพิมพ์ผ้า การพ้นสีรถยนต์เป็นต้น เพราะลมเป็นพลังงานสะอาดและ ไม่มีอันตราย ระบบอากาศอัดเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก เนื่องจากต้องการความดันของอากาศอัด สูงและต้นทุนการผลิตอากาศอัดจะยิ่งสูงขึ้นหากมี
การรั่วไหลในระบบ
[ หลักการทํางานของระบบอัดลม ]
อัดอากาศเริ่มจากดูดอากาศเขาทางท่อลมเขา (Air Intake) เพื่อส่งเข้าไปยัง เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) บริเวณทางเข้าเครื่องอัดอากาศจะติดตั้งเครื่องกรองอากาศ (Filter) กรองสิ่งเจือปนต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง เศษใบไม้ที่อาจลอยมากับอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความ เสียหายกับเครื่องอัดอากาศ
อากาศที่ผ่านเครื่องอัดอากาศแล้ว จะเก็บไว้ในถังเก็บอากาศ ซึ่งมีความดัน สูงและมีอุณหภูมิสูง แต่อุณหภูมิจะลดต่่ำลงด้วยอุปกรณ์ระบายความร้อนหลังจากอัด (After cooler) ก่อน นําไปใช้งานต่อไป
ศักยภาพการประหยัดพลังงาน แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทําได้ทําดังต่อไปนี้
1. ลดอุณหภูมิอากาศขาเขาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานความเย็น (Cooling Effect) ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Intercooler)
2. ปรับตั้งความดันลมของเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน
3. เลือกใช้เครื่องอัดอากาศและระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
4. ป้องกันการรั่วของลมจากจุดต่าง ๆ ของระบบ และจากตัวเครื่องอัดอากาศเอง
5. บริหารการใช้เครื่องอัดอากาศและระบบให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากระบบอัดอากาศมีความสําคัญต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ละโรงงานจําเป็นต้องเลือก เครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัดอย่างสม่ำเสมอ เข้าใจถึงหลักการทํางานตลอดจนการใช้อากาศอัดให้เหมาะสมกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ จะช่วยลด ต้นทุนการผลิตลงได้เกิดความคุมค่าทางเศรษฐกิจและยังเป็นการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย
**********
คุยกันต่อได้ที่
Facebook : Domnick hunter-RL
Youtube : domnick hunter-RL
www.domnickhunterrl.com